สมัยอุมัร (634–642) ของ คอลิด อิบน์ อัลวะลีด

ถอดถอนจากการเป็นจอมทัพ

หลังจากอบูบักร์เสียชีวิตในวันที่ 22 สิงหาคม ค.ศ. 634 จึงทำให้อุมัร ลูกพี่ลูกน้องของคอลิด เป็นเคาะลีฟะฮ์คนต่อไป[58] สิ่งแรกที่อุมัรทำนั้นคือย้ายคอลิดออกจากผู้บัญชาการทางทหารสูงสุดให้เป็นผู้บัญชาการกองทัพของรัฐเคาะลีฟะฮ์อัรรอชีดีนและให้อบูอุบัยดะฮ์ อิบน์ อัลญัรรอฮ์ทำหน้าที่นี้แทน[66] คอลิดเริ่มที่จะไม่เชื่ออุมัร (เนื่องจากเขาไม่เคยแพ้สงครามใดๆ ทั้งสิ้น) อุมัรจึงบอกว่า:"ฉันไม่ได้ถอดถอนคอลิดเพราะความโกรธของฉันหรือความไม่ซื่อสัตย์จากเขา แต่เหตุผลที่ฉันถอดถอนเพราะฉันต้องการให้พวกเขารู้ว่าอัลลอฮ์เท่านั้นที่ให้ชัยชนะให้กับพวกเรา"[68]

ครอบครองซีเรียตอนกลาง

เส้นทางที่คอลิดบุกรุกในซีเรียตอนกลาง

หลังจากที่อบูอุบัยดะฮ์เป็นจอมทัพแล้ว เขาจึงส่งกองทัพเล็กไปที่อบูอัลกุดส์ (ปัจจุบันคือเมืองอับลา) โดยอยู่ใกล้เมืองซาเล่ประมาณ 50 กม. ทางตะวันออกของเบรุต เพื่อทำลายป้อมทหารในวันที่ 15 ตุลาคม ค.ศ. 634 พร้อมกับได้ทรัพย์สินและนักโทษโรมันอีกร้อยคน[69]

ตอนนี้ซีเรียตอนกลางถูกครอบครอง และเส้นทางเชื่อมระหว่างซีเรียตอนเหนือกับปาเลสไตน์ถูกตัดขาดแล้ว อบูอุบัยดะฮ์จึงนำกองทัพไปที่ฟะฮัล (เปลลา) ที่อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล500 ฟุต (150 เมตร) และเป็นที่กองทหารและผู้รอดชีวิตจากสงครามอัจนาดัยน์ของไบเซนไทน์อาศัยอยู่[70] แล้ววางแผนข้ามแม่น้ำจอร์แดนในบริเวณที่พวกเขาขวางกั้นน้ำ แล้วสู้รบจนชนะกองทัพไบเซนไทน์ในคืนวันที่ 23 มกราคม ค.ศ. 635[58]

สงครามยัรมูก

ดูบทความหลักที่: สงครามยัรมูก

ขณะเดียวกัน จักรพรรดิเฮราคลีอุสทรงแต่งตั้งกองทัพเพื่อยึดซีเรียกลับมาอีกครั้ง โดยใช้เส้นทางที่เลี่ยงทหารมุสลิมในช่วงเดือนมิถุนายน ค.ศ. 636[71] ต่อมา คอลิดเริ่มห่วงว่าทหารมุสลิมอาจถูกแยกและกำจัดโดยง่าย จึงแนะนำให้อบูอุบัยดะฮ์รวมกองทัพมุสลิมให้เป็นหนึ่ง เพื่อรับมือกับกองทัพไบเซนไทน์[72]

อบูอบัยดะฮ์สั่งให้ทหารมุสลิมในซีเรียทั้งหมดให้เคลื่อนตัวไปที่ญาบิยะฮ์ตามคำแนะนำของคอลิด[73] ซึ่งทำให้แผนของเฮราคลีอุสล้มเหลว เนื่องจากเขาไม่ต้องการที่จะเผชิญหน้ากับชาวมุสลิม ซึ่งอาจจะทำให้กองทัพของพระองค์ถูกทำลายได้

อบูอบัยดะฮ์สั่งให้กองทัพมุสลิมเรียงตัวตามพื้นที่ราบของแม่น้ำยัรมูก ซึ่งจะทำเป็นแหล่งผลิตหญ้าและน้ำได้ดีและสามารถใช้ทหารม้ามีประสิทธิภาพมากขึ้น[74] พร้อมให้ทุกคนทำตามคำสั่งของคอลิด[75]

ณ วันที่ 15 สิงหาคม สงครามยัรมูกได้เกิดขึ้นและกินเวลาไป 6 วัน โดยที่ฝ่ายไบเซนไทน์พ่ายแพ้อย่างหนัก[76]

ครอบครองเมืองเยรูซาเลม

ในขณะที่ทหารไบเซนไทน์กำลังสับสนอยู่นั้น ชาวมุสลิมสามารถยึดเมืองยัรมูคได้อย่างรวดเร็ว จากนั้นจึงไปทางตอนใต้เพื่อยึดเมืองเยรูซาเลม ที่ซึ่งทหารไบเซนไทน์หลบภัยมาอยู่ที่นี่[77] จึงมีสงครามอยู่ที่นั่นเป็นเวลา 4 เดือน หลังจากนั้นชาวเมืองจึงยอมแพ้แต่ต้องให้เคาะลีฟะฮ์มาที่นี่ด้วยตนเอง อัมร์ อิบน์ อัลอาสจึงแนะนำคอลิดให้รับสั่งเคาะลีฟะฮ์มาที่นี่ ดังนั้นอุมัรจึงมาที่นี่แล้วชาวเมืองยอมให้ครอบครองเยรูซาเลมในเดือนเมษายน ค.ศ. 637[78]

ครอบครองซีเรียตอนเหนือ

แผนที่แสดงทางที่คอลิดบุกรุกที่ซีเรียตอนเหนือ

ตอนนี้เมืองเอมีซาอยู่ในกำมือแล้ว อบูอุบัยดะฮ์และคอลิดจึงนำทัพไปที่กอดีซียะฮ์ เป็นบริเวณที่ทหารไบเซนไทน์ป้องกันอานาโตเลีย บ้านเกิดของจักรพรรดิเฮราคลีอุส, อาร์มีเนียและเมืองแอนติออก อบูอุบัยดะฮ์ได้ส่งคอลิดไปที่กินนัสริน[79] โดยที่ป้อมมีทหารกรีกภายใต้คำสั่งแม่ทัพเมนาส โดยที่เขามีแผนที่จะทำลายทหารของคอลิดก่อนที่พวกเขาจะรวมตัวกันที่ฮาซิรที่ห่างออกไป 5 กม. ทางตะวันออกของกินนัสริน แต่กลับพ่ายแพ้ในสงครามฮาซิร[80]

อบูอุบัยดะฮ์ได้เข้าร่วมกับคอลิดหลังจากชนะสงครามที่กินนัสรินในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 637 จึงทำให้ทางตอนเหนือของกินนัสรินเหมาะที่จะเดินทัพไปยึดเมืองอะเลปโปจากไบเซนไทน์ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 637[81]

ก่อนที่จะยกทัพไปแอนติออก คอลิดและอบูอุบัยดะฮ์ตัดสินใจแยกเมืองรอบๆ อานาโตเลีย โดยการยึดฐานทัพที่ตั้งไว้รอบๆ ทางไปแอนติออก และมีสงครามเกิดขึ้นโดยที่นักรบชาวแอนติออกได้ตั้งทัพอยู่ใกล้แม่น้ำโอรอนเตส โดยรู้จักในชื่อสงครามสะพานเหล็ก[82]

อบูอุบัยดะฮ์ได้ส่งคอลิดให้ไปทางเหนือ ในขณะที่เขาไปทางใต้แล้วยึดเมืองลัซเกีย, ญับลา, ทาร์ทุส และชายทะเลของเทือกเขาแอนตี-เลบานอนตะวันตก ส่วนคอลิดได้บุกรุกที่แม่น้ำเกอเซอ (เกอเซอเลอมาก) ในอานาโตเลีย แต่จักรพรรดิเฮราคลีอุสได้หนีออกจากแอนติออก แล้วไปที่เอเดสซาก่อนที่ชาวมุสลิมจะมาถึง พร้อมกับจัดกองทัพไว้ที่ญาซีรา และอาร์มีเนีย จากนั้นจึงไปที่คอนสแตนติโนเปิลโดยเกือบที่จะถูกคอลิดจับได้ หลังจากที่เขาได้ยึดเมืองมาราชแล้วไปทางตอนใต้ไปที่มันบิจ[83] จักรพรรดิเฮราคลีอุสทรงใช้ทางภูเขาแล้วผ่านกำแพงซิลิเซียนพร้อมกับตรัสว่า:

ลาก่อน แล้วลาลับให้กับซีเรีย จังหวัดของข้าได้ตกไปยังน้ำมือของศัตรูแล้ว ...โอ้ซีเรีย – แผ่นดินที่สวยงามที่กำลังตกอยู่ในกำมือของศัตรู[84]— จักรพรรดิเฮราคลีอุส

การต่อสู้ในอาร์มีเนียและอานาโตเลีย

แผนที่แสดงเส้นทางที่คอลิดบุกไปที่อาร์มีเนียและอานาโตเลีย

อุมัรได้สั่งให้ไปยึดเมืองญาซีรา โดยทำสำเร็จในช่วงปลายฤดูร้อน ปีค.ศ. 638 หลังจากยึดเมืองญาซีราแล้ว อบูอุบัยดะฮ์ได้ส่งคอลิดและอิยาด อิบน์ กันม์ไปยึดครองบริเวณทางเหนือของญาซิรา[85] โดยพวกเคลื่อนทัพไปอย่างอิสระ และยึดเมืองเอเดสซา อะมิดา (ดิยาบาเกิร), มาลาเตีย พร้อมบุกรุกไปถึงอาร์มีเนียของไบเซนไทน์, แคว้นอะรารัต และอานาโตเลียตอนกลาง เฮราคลีอุสได้ทิ้งป้อมทั้งหมดที่อยู่ระหว่างแอนติออกกับทาร์ทุส เพื่อสร้างเขตกันชนระหว่างบริเวณที่ชาวมุสลิมควบคุมและเขตอานาโตเลีย[86]

ตอนนั้นเองอุมัรได้กล่าวไว้ว่า:"ฉันหวังว่าเราจะมีกำแพงไฟระหว่างเรากับชาวโรมัน นั่นจะทำให้พวกเขาเข้ามาไม่ได้ และเราก็ไปต่อไม่ได้เช่นกัน"[87]

ถูกถอดถอนจากการเป็นทหาร

ตอนนี้ คอลิด เป็นโด่งดังและมีคนชื่นชอบเขามาก สำหรับชาวมุสลิมแล้ว เขาคือวีรบุรุษของชาติ[88] และรู้จักกันในสมญานามว่า ซัยฟุลลอฮ์ ("ดาบของอัลลอฮ์")

เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วหลังจากยึดเมืองมาราช (คาฮ์รามามันมาราช)ในฤดูใบไม้ร่วงปีค.ศ. 638 โดยมีคนแต่งกวีให้กับคอลิดพร้อมกับรับเงินจำนวน 10,000 ดิรฮัมจากเขา โดยเงินนี้ได้มาจากกองคลังของเคาะลีฟะฮ์[89]

อุมัรได้พูดกับอบูอุบัยดะฮ์ว่าคอลิดนำเงินมาจากไหนให้นักกวีคนนั้น: เป็นเงินจากกระเป๋าของเขาหรือของกองคลัง? ถ้าเขาบอกว่าใช้เงินของกองคลัง เขาจะมีความผิดฐานไม่ซื่อสัตย์[90] ถ้าบอกว่าใข้เงินในกระเป๋าของเขา ก็มีความผิดฐานฟุ่มเฟือย แต่ถ้าไม่ใข่ทั้งคู่เขาสมควรถูกปลดแล้วให้อบูอุบัยดะฮ์ทำหน้าที่นี้แทน[91]

คอลิดได้ไปที่กินนัสรีนและกล่าวลากับกองทหารเคลื่อนที่ของเขาแล้วไปที่มะดีนะฮ์เพื่อไปพบกับอุมัร พร้อมกับอธิบายว่าเขาทำอะไรผิด อุมัรจึงกล่าวคำสรรเสริญให้กับเขาว่า:"เจ้าได้ทำแล้ว และไม่มีชายคนใดเคยทำได้มาก่อน แต่นี่ไม่ใช่สิ่งที่ผู้คนทำ นั่นเป็นสิ่งที่อัลลออ์กำหนด..."[92]

หลังจากนั้นอุมัรได้อธิบายให้เข้าใจว่า:

ฉันไม่ได้ถอดถอนคอลิดเพราะความโกรธของฉันหรือความไม่ซื่อสัตย์จากเขา แต่เพราะผู้คนได้สรรเสริญเขา และฉันจึงกลัวว่าผู้คนคนจะพึ่งพาเขา ฉันต้องการให้พวกเขารู้ว่าอัลลอฮ์เท่านั้นที่ให้ชัยชนะให้กับพวกเรา และแผ่นดินจะได้ไม่มีผู้หวังร้ายแน่นอน[93]— เคาะลีฟะฮ์อุมัร

และด้วยเหตุนี้เองทำให้ความสำเร็จทางทหารของคอลิดได้มาถึงจุดจบ

แหล่งที่มา

WikiPedia: คอลิด อิบน์ อัลวะลีด http://www.britannica.com/eb/article-9045249 http://www.meccabooks.com/342-khalid-bin-al-waleed... http://www.meccabooks.com/companions/648-khalid-bi... http://military.hawarey.org/military_english.htm //www.jstor.org/stable/1596048 http://www.witness-pioneer.org/vil/Books/SM_tsn/ch... //www.worldcat.org/oclc/36884186 https://books.google.com/?id=2aOpeBnbxvsC&pg=PA289... https://books.google.com/?id=VdXMK4CYRToC&pg=PR9#v... https://books.google.com/?id=VdXMK4CYRToC&printsec...